วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของรอม

 คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป
          แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM
ชนิดของROM
Manual ROM
ROM (READ-ONLY MEMORY)
          ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้
         โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS
PROM (Programmable ROM)
PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
EPROM (Erasable Programmable ROM)
EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
EAROM (Electrically Alterable ROM)
EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
          EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
         การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM

ประเภทของแรม


RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) 
2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 
                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง

RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) 
2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 
                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อนำสัญญาณ

ระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมีความเกี่ยวข้องกับสื่อที่ใช้ส่งสัญญาณ โดยสื่อที่ใช้ส่งสัญญาณมักจะหมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นสายสัญญาณ และรวมถึงสื่อที่ไม่เป็นสายสัญญาณ หรือสื่อไร้สายด้วย การส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมต่อด้วยสื่อนำสัญญาณ สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีหลายประเภท เมื่อจบบทที่ 3 นักศึกษาจะได้ทราบถึงสื่อนำสัญญาณประเภทต่างๆ ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
สื่อนำสัญญาณมีความเกี่ยวข้องกับเลเยอร์ที่ 1 ในแบบอ้างอิง OSI คือ เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปบิตผ่านสายสัญญาณหรือสื่อนำสัญญาณ โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน นอกจากการใช้สายสัญญาณแล้ว ยังมีการใช้สื่อไร้สาย (WLAN : Wireless LAN) กันโดยทั่วไปอีกด้วย ที่ผ่านมาแต่ละบริษัทจะผลิตอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้กับ WLAN ที่มีลักษณะเฉพาะ และถ้าผลิตจากต่างบริษัทก็จะไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ จนกระทั่ง IEEE ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ WLAN หรือ IEEE 802.11 ทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป
สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ 2ประเภทดังนี้ 
1) สายสัญญาณ (Wire) 
สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) 
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) 
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) 
2) สื่อไร้สาย (Wireless) 

 
3.1 สายสัญญาณ (Wire) 
3.1.1 สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) 
เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ในเครือข่ายท้องถิ่นในยุคที่ผ่านมา ในปัจจุบันเครือข่ายท้องถิ่นนิยมใช้คู่บิดเกลียวและสายใยแก้วนำแสง แม้ว่าสายโคแอ็กเชียลจะล้าสมัยสำหรับเครือข่ายท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังมีบางเครือข่ายที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู 
          สายโคแอ็กเชียล มีโครงสร้างประกอบด้วย แกนกลาง เป็นสายทองแดงที่เป็นวัสดุนำไฟฟ้า ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อไปเป็นตัวนำไฟฟ้า เป็นใยโลหะถักเป็นตาข่าย หุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นนอกสุดท้ายหุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ 

สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial cable) 
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง เป็นสายขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.64เซนติเมตร สายประเภทนี้มีขนาดเล็ก จึงมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สามารถใช้นำสัญญาณได้ไกลถึง 186 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลังลง 

สายโคแอ็กเชียลแบบหนา (Thick Coaxial cable) 
สายโคแอ็กเชียลแบบหนา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.27 เซนติเมตร จึงมีขนาดใหญ่ และแข็งแรงกว่าสายโคแอ็กเชียลแบบบาง สามารถนำสัญญาณได้ไกลกว่า โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500เมตร 

3.1.2 สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) 
สายคู่บิดเกลียว เดิมเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่จากการพัฒนาเทคโนโลยี Ethernet และได้ทำการทดลองปรับปรุงสายโทรศัพท์ให้มีคู่สัญญาณเพิ่มเป็น 4 คู่ และจากการวิจัยพบว่าหากบิดสายแต่ละคู่ ให้เป็นเกลียวด้วยระยะที่เหมาะสม จะทำให้สัญญาณจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวนซึ่งกันและกันลดน้อยลง สายคู่บิดเกลียวมีแกนกลางเป็นสายทองแดงขนาดเล็ก หุ้มด้วยฉนวน 
สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
     1. สายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน (STP : Shielded Twisted Pairs) 
     2. สายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน (UTP : Unshielded Twisted Pairs) 
3.1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) 
สายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน มี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่ใช้ ประเภทแรก คือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ และประเภทที่ไม่ได้ใช้โลหะ สายแบบที่ใช้โลหะ เช่น สายคู่บิดเกลียว และสายโคแอ็กเชียล โดยปัญหาของสายที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ คือ สัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตสนามแม่เหล็กต่างๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า บัสหลาสที่ใช้กับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือสนามแม่เหล็กจากฟ้าผ่า 
 
ประเภทของสายใยแก้วนำแสง 
สายใยแก้วนำแสง มีการแบ่งออกตามลักษณะของลำแสงที่ใช้ส่งข้อมูล 2 แบบ
 คือ  แบบซิงเกิลโหมด (Single mode) และแบบมัลติโหมด (Multi mode) 
 สายใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมด(MMF : Multimode Fiber Optic) 
สายใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมด ส่วนที่เป็นแกน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 62.5ไมครอน (1 micron = 10-6 m = mm) และส่วนที่เป็นแคลดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 125 ไมครอน ชื่อที่ใช้เรียกสายประเภทนี้ จึงเป็น 62.5/125 MMF ส่วนขนาดอื่นที่เป็นที่นิยมรองลงมาคือ 50/125 MMF 
412 244 
 สายใยแก้วนำแสงแบบซิงเกิลโหมด(SMF : Single Mode FIber Optic) 
สายใยแก้วนำแสงแบบซิงเกิลโหมด มีแกนกลางเล็กกว่าสายใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมด โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10ไมครอน และส่วนที่เป็นแคลนประมาณ125 ไมครอน สายแบบนี้จะส่งสัญญาณแสงเพียงลำแสงเดียว ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ซิงเกิลโหมด (Singlemode) 
3.2 สื่อไร้สาย (Wireless) 
นอกจากการใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางนำสัญญาณแล้ว อากาศก็เป็นสื่อนำสัญญาณได้เช่นกัน โดยจะเรียกว่า เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) ข้อมูลจะแปลงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และส่งไปพร้อมกับแถบความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Spectrum)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณที่ใช้ส่งข้อมูลในทุกๆ การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสาย 
 แถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 
แถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเริ่มต้นที่ความถี่ศูนย์เฮิร์ตซ์ (Hz) ไปจนถึง 10ยกกำลัง24 Hzความถี่ จะเริ่มจากเสียง มีความถี่ประมาณ 0 - 10 kHz โดยการได้ยินเสียงของคนส่วนใหญ่ได้ยินจะอยู่ในช่วงความถี่ประมาณ 3 - 4 kHz คลื่นความถี่ที่สูงขึ้นจะเป็นคลื่นวิทยุ(Radio Frequency) มีช่วงความถี่ประมาณ500 kHZ-300 GHz โดยความถี่ของเครื่องไมโครเวฟที่ใช้ตามบ้านจะอยู่ในช่วงนี้ด้วย 

การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

อินเทอร์เน็ต (Internet) 
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก 
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย 
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
         ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมกันแพร่หลายและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆมากมายมหาศาล แหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้และเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะอยู่ไกลกันเพียงใด ด้วยการส่งอีเมล์ ส่งการ์ดอวยพรแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พุดคุยสนทนา หรือสื่อสารผ่านภาพและเสียง เป็นต้น แหล่งรวมโปรแกรมใช้งานและเกมต่างๆ ซึ่งมีมากมายให้คุณได้ดาวน์โหลดมาใช้ แหล่งรวมความบันเทิงทุกรูปแบบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แหล่งจำจ่ายใช้สอยสินค่าต่างๆ เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าโดยจัดตั้งร้านค้าเป็นเว็บเพจ ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกสินค้าต่างๆได้จากเว็บไซต์ที่ได้จัดเตรียมไว้ และสามารถสั่งซื้อสินค้าพร้อมทั้งจ่ายเงินทางเว็บไซต์  ท่านสามารถเรียนรู้เรื่อง
·                     โครงสร้างสตักเจอร์(Structure)
·                     วิธีเรียกใช้งาน Internet Explorer ( IE )
·                     ส่วนประกอบในหน้าจอของInternet Explorer
·                     แนะนำปุ่มต่างๆ
·                     ท่องโลก  www
·                     ค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือSearch
·                     การอัพโหลดข้อมูล
·                     การรับ  ส่งอีเมล์
·                     การใช้อีเมล์
·                     การสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต(Chat)
ความรู้พื้นฐานของการใช้งาน อินเตอร์เน็ต (Internet)นั้น ประกอบด้วยการใช้งานด้านการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล เป็นหลัก ในที่นี้ จะกล่าวถึงการใช้งาน Browser ในการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล โดยการค้นหาข้อมูล จะกล่าวถึงการใช้งาน Search Engineและการสื่อสารข้อมูลจะเป็นลักษณะของการสื่อสารข้อมูลด้วย E-Mail

Browser คืออะไร
            Browser คือ โปรแกรมระบบงานที่ใช้เพื่อค้นหาทรัพยากรต่าง ๆ ใน Internet โดย Browserนั้น จะให้ผู้ใช้เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่สนใจรายละเอียดทางเทคนิคของการเชื่อมต่อระหว่างจุด หรือวิธีการเฉพาะที่จะเข้าไปใช้จุดเหล่านั้น และนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความ ( Text ) , ภาพ ( Graphics ) , เสียง ( Sound ) หรือภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) ในเอกสารบนจอภาพ

การใช้งาน Internet Explorer
            Internet Explorer (IE)เป็น Browser ซึ่งผลิตโดยบริษัท Microsoft ซึ่งมีมาให้พร้อมกับMicrosoft Windows ตั้งแต่ Windows 98 ขึ้นไป โดยที่หากเป็น Windows98 ก็จะเป็น IE4.0 , Windows98 SE ก็จะเป็น IE5.0 , Windows Me ก็จะเป็น IE5.5 , สุดท้ายถ้าเป็น Windows XP ก็จะเป็น IE6.0 ดังนั้น หากคิดจะใช้อินเตอร์เน็ตด้วยIE แล้ว จำเป็นต้องทราบเทคนิค พื้นฐานเบื้องต้นในการใช้ IE ด้วย